หน้าหลัก
บริการ
ข่าวและบทความ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อ
ภาษา
เข้าสู่ระบบ

หน้าหลัก ข่าวสารองค์กร ส่องจำนวนผู้สูงอายุในไทย

ส่องจำนวนผู้สูงอายุในไทย ปัจจุบันมีสัดส่วนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์จากประชากรไทย

Visited +426 Times

ส่องจำนวนผู้สูงอายุในไทย ปัจจุบันมีสัดส่วนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์จากประชากรไทย

ส่องจำนวนผู้สูงอายุในไทย ปัจจุบันมีสัดส่วนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์จากประชากรไทย
.
TDRI เผย ต้นทุนเลี้ยงลูกสูง ทำเด็กเกิดน้อย ระเบิดเวลาประชากร สวนทางผู้สูงอายุเพิ่ม - อายุยืน คาดปี67 มีมากกว่า 13 ล้านคน เป็นความท้าทายอนาคตไทย แนะรัฐเร่งหามาตรการหนุนคนมีลูก ยก "สิงคโปร์" จูงใจคนมีลูกให้เงิน 6 หลัก แม่ลาคลอดนาน 6-12 เดือน
.
วันที่ (11 ก.ค.2567) ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึง สถานการณ์ประชากรไทย ว่า สถิติการเกิดย้อนหลัง 10 ปีของกรมการปกครอง พบว่า จำนวนการเกิดทั่วประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่ในปี 2557 มีเด็กเกิด  770,000 คน เหลือ 510,000 คนในปี 2566 ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุไทยในปี 2567 มีมากกว่า 13 ล้านคน
.
ในขณะที่จำนวนการเกิดของเด็กลดน้อยลง แต่ตัวเลขการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม ในอนาคต สวนทางกับสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้นทุกวัน ขณะนี้มีคนอายุเกิน 60 ปีประมาณ 20 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด
.
และมั่นใจว่าอีกไม่กี่ปีผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็นถึง 30% และมีแนวโน้มจะมีอายุยืนยาวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยคนที่อายุถึงร้อยปีก็จะเพิ่มขึ้นเร็วเช่นกัน ขณะเดียวกันจำนวนเด็กก็เกิดน้อยลงทุกขณะ เพราะมุมมองของคนเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องการที่จะมีลูก ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
.
ดร.สมชัย มองว่า มีหลายสาเหตุที่คนไทยไม่อยากมีลูก ในด้านเศรษฐกิจ พบว่าต้นทุนในการเลี้ยงลูกให้เติบโตอย่างมีคุณภาพต้องมีค่าใช้จ่ายที่ แพง มากขึ้นเรื่อยๆ และจะยิ่งแพงมากขึ้นต่อไปอีก ถ้าพ่อ-แม่มีความคาดหวังต่อลูกสูง เช่น ลูกจะต้องเรียนหนังสือในโรงเรียนชั้นดี หรือเรียนโรงเรียนนานาชาติ จะต้องเรียนพิเศษ ต้องมีความสามารถพิเศษ เล่นเปียโนได้เป็นต้น พวกนี้เป็นต้นทุนของการเลี้ยงดูทั้งสิ้น ซึ่งสาเหตุนี้ทำให้คู่สามีภรรยาที่ประเมินว่าตัวเองไม่พร้อมที่จะเลี้ยงลูกให้โตขึ้นมาตามที่คาดหวังเอาไว้ได้เลือกที่จะไม่มีลูกไปเลย
.
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่เกี่ยวกับโครงสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่มีปู่ย่าตายายพี่ป้าน้าอาช่วยเลี้ยงเด็กได้ แต่ปัจจุบันครอบครัวเป็นครอบครัวขนาดเล็กลง ความช่วยเหลือดังกล่าวจึงน้อยลงเช่นเดียวกับสภาพของสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในปัจจุบัน ที่เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่คู่สามีภรรยาบางคู่คิดว่า สังคมไทยอาจจะไม่ใช่สังคมที่น่าอยู่อีกต่อไป
.

อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาให้คนยอมมีลูกไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างที่ในหลายประเทศได้ออกมาตรการสร้างแรงจูงใจให้คนมีลูกแล้วแต่ผลตอบรับไม่เป็นไปตามเป้ามากนัก เช่น ในสิงคโปร์ ได้สนับสนุนเงินจำนวนมากถึง 6 หลักและให้สวัสดิการอื่นๆ บางประเทศอนุญาตให้แม่ลาคลอดได้นานถึง 6-12 เดือน หรือเปิดโอกาสให้พ่อใช้สิทธิลาคลอดแทนแม่ได้
.
ดร.สมชัย มองว่า บางมาตรการซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ดี ก็อาจจะตอบโจทย์ให้คนตัดสินใจมีลูกได้มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การพัฒนาระบบการศึกษา ให้โรงเรียนทุกแห่งมีคุณภาพที่ดีรวมถึงโรงเรียนรัฐที่ ไม่ดังด้วย เพราะจะทำให้พ่อแม่รู้สึกมั่นใจว่าถ้ามีลูกๆจะได้รับการศึกษาที่ดีโดยไม่ต้องจ่ายแพง
.
ขณะเดียวกันควรสนับสนุนให้พ่อแม่ มีความสามารถในการเลี้ยงลูกระหว่างการทำงาน ด้วยการตั้งศูนย์เด็กเล็กที่มีคุณภาพในหน่วยงานหรือบริษัท เพื่อให้พ่อแม่นำลูกมาทำงานได้และฝากไว้กับศูนย์เด็กเล็กและเมื่อเลิกงานก็กลับบ้านพร้อมกัน หรือมีสถานรับเลี้ยงเด็กคุณภาพสูงใกล้ที่บ้านหรือที่ทำงาน รวมทั้งการส่งเสริมทักษะการเลี้ยงเด็กให้กับพ่อแม่ หรือคนเลี้ยงอย่างปู่ย่าตายายใน ครอบครัวแหว่งกลางที่มีช่องว่างระหว่างวัยของผู้เลี้ยงดู คือปู่ย่าตายาย กับตัวเด็กค่อนข้างมาก เพื่อให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม
.
ดร.สมชัย กล่าวอีกว่า วิกฤตเด็กเกิดน้อย และ สังคมสูงวัย ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหา ขาดแคลน วัยแรงงานรวมทั้งฐานะการคลังของภาครัฐทั้งรายได้และรายจ่าย ซึ่งสัดส่วนของกลุ่มวัยแรงงานลดลงอย่างรวดเร็วตามโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ยกเว้นว่าจะมีการปรับเรื่องของแนวคิดบางอย่าง เช่น ให้ผู้สูงวัยทำงานมากขึ้น
.
ขณะที่ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น ทั้งสองประเด็นนี้เป็นความสัมพันธ์ที่เชื่อมต่อกันอย่างแยกไม่ออก ในด้านสังคม เมื่อมีผู้สูงอายุมากขึ้น การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการให้บริการทางสาธารณสุขก็ย่อมมากขึ้นตามสัดส่วนของผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันเมื่อมีกลุ่มผู้สูงอายุที่ ป่วยติดเตียง มากขึ้น หมายความว่า วัยแรงงานที่มีน้อยลงอยู่แล้ว ยิ่งขาดแคลนมากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้บางส่วนต้องลดการทำงานลงเพื่อเอาเวลาไปดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียงด้วย
.
ส่งผลให้ภาครัฐจะต้องแบกรับรายจ่ายการดูแลผู้สูงวัยมากขึ้น ขณะที่ศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยจะต่ำลงอย่างรวดเร็ว เพราะขาดแรงงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยคุณภาพแรงงานก็เป็นอีกปัญหาที่สำคัญ
.
อย่างไรก็ตาม ไทยจะต้องมีนโยบายเสริมมาก ไม่ใช่รับเข้ามาแล้วเป็นปัญหาของสังคม มาก่ออาชญากรรม หรือมารับสวัสดิการอย่างเดียว ทำงานไม่ค่อยเก่ง ฝีมือไม่ดี ดังนั้นถ้าจะให้สัญชาติจะต้องมีนโยบายเสริม เช่น จะต้องมีนโยบายในเรื่องของการฝึกทักษะที่ดีเพื่อให้แน่ใจว่าเขามีทักษะที่ดีแน่ๆ ซึ่งถ้าทำได้ก็จะดีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ข้อมูลจาก Thai PBS
Share -

นัดหมายแพทย์



หรือนัดหมายแพทย์ล่วงหน้า ได้ที่ ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเออีซี

              

เนื้อหาที่คุณอาจสนใจ

โรงพยาบาลเออีซี

เลขที่ 5/107 หมู่ 1 ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ห้วยกะปิ เมือง ชลบุรี 20000

061-350-6197

           

แผนที่และการเดินทาง

โรงพยาบาลเออีซี

เลขที่ 5/107 หมู่ 1 ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ห้วยกะปิ เมือง ชลบุรี 20000

   061-350-6197

              

ฝากข้อความติดต่อกลับ

กดติดตามรับข่าวสาร

Copyrights © 2025 All Rights Reserved. www.aechospital.com Version 1.0. Designed by WEB-BEE-DEV. +72,811 Times.